หลายคนมักนึกถึงการอ่านออก เขียนได้ เป็นทักษะสำคัญการเรียนภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่จริงๆแล้วนั้นมันมีมากกว่านั้น ความสามารถในการใช้ภาษาใดๆได้จะครอบคลุมทักษะต่างๆอันได้แก่ ซึ่งถ้าดูกันจริงๆนั้น มันก็เรียงตามขั้นตอนในการเรียนภาษาหนึ่งๆเลย ได้แก่

การฟัง – แยกแยะเสียงที่ได้ยิน
การพูด – ออกเสียงเลียนแบบได้ถูกต้อง ชัดเจน
อ่าน – จำ เข้าใจ ตัวอักษร คำ ประโยค สามารถสะกดออกเสียง อ่านได้
เขียน – เขียนพยัญชนะตามแบบ เขียนคำศัพท์ แต่งประโยค

หน่วยสุขภาพแห่งชาติ ประเทศอังกฤษแบ่งลำดับขั้นตอนในการช่วยให้ลูกของคุณเรียนภาษาไว้ดังนี้

อายุ 0-6 เดือน

  • อุ้มลูกไว้ใกล้ๆกับคุณ แล้วมองตาในขณะที่พูดกับลูก เด็กทารกในช่วงไว้นี้ชอบมองหน้า และจะมองคุณ ลองสังเกตดูว่าลูกจะมีท่าทางโต้ตอบเวลาคุณพูดกับเขาในลักษณะนี้
  • พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังทำในขณะนั้นเวลาป้อนข้าวลูก เวลาอาบน้ำ เวลาเปลี่ยนใส่เสื้อผ้า
  • ร้องเพลงให้ฟัง ช่วยฝึกประสาทการฟัง การได้ยินจังหวะ การได้ยินโทนเสียงต่างๆสูง กลาง ต่ำ
  • ทำเสียงเลียนแบบกลับตามเสียงที่ลูกคุณทำ ในลักษณะนี้จะช่วยฝึกทักษะการฟัง การรู้จักเปลี่ยนสลับพูด-ฟังในการสนทนา
  • พูดในลูกฟังในเสียงที่คล้ายกับการร้องเพลง จะช่วยให้ดึงความสนใจให้เด็กฟัง ไม่เมินเฉย

อายุ 6-12 เดือน

  • เรียกชื่อและชี้วัตถุ สิ่งของที่มองเห็นใกล้ตัว ตัวอย่างเช่น นี้ แมว, นั่น โต๊ะ เป็นต้น ลักษะการฝึกนี้จะช่วยให้เด็กเรียนรู้จักคำศัพท์ ในไม่ช้าเขาก็จะเริ่มพูดเลียนแบบคุณ ต่อไปเมื่อเด็กมีอายุเพิ่มขึ้น จะเริ่มสามารถใส่คำศัพท์ที่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น อันนี้ แมว, อันนั้นเรียกว่าโต๊ะ เป็นต้น
  • เริ่มดูหนังสือร่วมกัน คุณยังไม่จำเป็นจะต้องเริ่มอ่านเนื้อหาในหนังสือ เพียงแค่เล่าสิ่งที่คุณเห็นในหน้าๆนั้น
  • เริ่มลดการใช้จุกดูดนมหลอก เมื่อเด็กดูดจุกนมอยู่ในปากตลอดเวลา จะทำให้เป็นการจากที่เด็กจะเริ่มฝึกพูด พยายามให้ใช้เมื่อใกล้ถึงเวลานอนเท่านั้น
  • เล่นเกมส์ ตัวอย่างเช่น เล่น จ๊ะเอ๋ จ้ำจี้ จะช่วยฝึกทักษะสำคัญต่างๆ เช่น การฟัง การรอคอย การสลับเปลี่ยนบทบาทฟังพูด การเข้าใจคำสั่ง

12-18 เดือน

  • พูดนำการออกเสียงที่ถูกต้องเมื่อลูกพยายามออกเสียงเรียกชื่อสิ่งต่างๆไม่ถูกต้อง ตัวอยางเช่น ลูกชี้และพูด “ก่าย” ควรจะพูดตามว่า “ใช่ อันนี้คือ ไก่” พยายามพูดนำ และไม่พูดว่า หรือลงโทษ
  • เพิ่มคลังคำศัพท์ให้กับลูกโดยให้ทางเลือกกับเขา ตัวอย่างเช่น ลูกอยากทานแตงโมหรือส้มโอ
  • ใช้ของเล่นหรือหนังสือที่มีเสียง จะช่วยฝึกทักษะในการฟัง
  • สนุกกับการร้องเพลงเด็กหรือกลอนไปด้วยกันระหว่างที่ลูกกำลังโตขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะการใช้ท่าทาง การทำท่าทางต่างๆประกอบจะช่วยให้ลูกจำคำศัพท์ได้ดีขึ้น

18-24 เดือน

  • พูดคำศัพท์ซำ้ๆ ตัวอย่างเช่น รองเท้าลูกอยู่ที่ไหน ลูกจะใส่รองเท้าคู่สีฟ้าใช่ไหมวันนี้ เรามาใส่รองเท้ากัน การพูดซ้ำๆจะช่วยให้ลูกสามารถจำคำศัพท์ได้ดีขึ้น
  • พยายามใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ เด็กๆจะสามารถเข้าใจคำสั่งพื้นฐานง่ายๆในช่วงอายุนี้ เช่น ปิดประตู ใส่กางเกง ใช้ประโยคบอกคำสั่งที่ง่ายๆ สั้น เด็กจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
  • ถามคำถาม “อันไหนคือ…” แล้วให้ลูกชี้ไปที่สิ่งนั้นๆ เช่น อันไหนคือตา อันไหนคือเท้า อันไหนคือโต๊ะ เป็นต้น
  • จำกัดเวลาการอยู่หน้าจอ ทั้งโทรทัศน์ ไอแพด และโทรศัพท์มือถือ ไม่ควรใหเกิน 30 นาทีต่อวันสำหรับที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ การเล่นด้วยกัน การฟังนิทานหรือเรื่องเล่าต่างๆจะช่วยพัฒนาการในการฟังได้มากกว่า

2-3 ขวบ

  • ช่วยเด็กๆเรียบเรียงประโยคเวลาพูด เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มที่จะพูดประโยคสั้นๆง่ายๆได้ในช่วงอายุประมาณ 2 ขวบ ผู้ใหญ่พยายามคุยตอบกับเด็กๆโดยใช้ประโยคที่ยาวขึ้นกว่าที่เด็กพูด ตัวอย่าง “กินข้าว” พูดตอบว่า “ใช่ เรามารับประทานข้าวเย็นด้วยกัน” เป็นต้น
  • ดึงดูดความสนใจของลูกโดยเรียกชื่อของเด็กตอนต้นของประโยค ถ้าคุณถามคำถามเด็ก ให้เวลาเด็กๆเยอะๆในการตอบคำถาม
  • สอนคำศัพท์ลูกเพิ่มสำหรับสิ่งที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ลูกบอล ตุ๊กตา หุ่นยนต์ คำศัพท์ที่สอนเพิ่มได้คือ ของเล่น
  • สอนเสียงต่างๆที่มีความหมาย เช่น อุ้ย เวลาตกใจ โอ้ ว้าว เวลาทึ่ง หรือแปลกใจ หรือ เสียง จิ๊บๆเวลาเห็นนก
  • ปิดเสียงรบกวนเวลาพูดคุย สนทนา หรืออ่านหนังสือ เช่นเสียงทีวี วิทยุ จะทำให้เด็กขาดสมาธิ และไม่ฟังเวลาคุณพูด
  • พูดคุยกับลูกเวลาคุณทำงานบ้าน เด็กในช่วงอายุนี้ชอบที่จะช่วยเหลือ พูดคุยว่าคุณทำอะไร อย่างไรให้ลูกฟัง