What is homeschooling

Homeschooling การเรียนการสอนแบบโฮมสคูล หรือบ้านเรียนในภาษาไทย เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้อำนาจในการจัดการเรียนการสอนแก่พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ในการสร้างสรรค์ วางรูปแบบ และเลือกสิ่งที่จะเรียนให้แก่เด็ก

การเรียนแบบโฮมสคูลถูกจัดให้เป็นหนึ่งในรูปแบบการจัดการศึกษาของไทยที่ถูกต้องตามกฏหมาย โดยผู้เรียนสามารถเป็นนักเรียนแบบโฮมสคูลได้คลอดชั้นการศึกษาภาคบังคับรวมถึงชั้นปฐมวัย คือ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 

อ่านเกี่ยวกับการลงทะเบียนการจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล

History of Homeschooling

การจัดการเรียนการสอนโฮมสคูลแท้จริงแล้วนั้นเป็นรูปแบบการศึกษาดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ในอดีต จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่ช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมมในช่วงปี 1800 ที่รัฐบาลในประเทศมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆในทวีปยุโรป ได้จัดให้เกิดการศึกษาภาคบังคับ และรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนขึ้น

จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ในช่วงปี 1900 ผู้คนเริ่มเกิดความสงสัย แคลงใจในประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบโรงเรียนว่าจะสร้างเด็กให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง การเรียนในโรงเรียนดูเหมือนเป็นการจัดความพร้อม เพื่อสร้างคนเข้าสู่ระบบงานเท่านั้น  จึงได้เกิดกระแสในสังคมในการต้องการการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ใช่รูปแบบโรงเรียนเกิดขึ้น ผู้นำทางความคิดในการจัดการเรียนการสอนที่บ้านคือ นายจอนห์ โฮล์ท (John Holt) นักการศึกษาชาวอเมริกัน เขาได้ตีพิมพ์จดหมายข่าวที่มีชื่อว่า Growing without Schooling ขึ้นเพื่อสร้างกระแสความคิดในการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ใช่ระบบโรงเรียน จดหมายข่าวฉบับแรกของเขาตีพิมพ์ขึ้นในปี 1977 หรือปี พ.ศ. 2520

หลังจากนั้นไม่นานก็มีเพื่อนนักการศึกษาของโฮลท์ได้ออกมาประกาศสนับสนุนแนวความคิดในการจัดการศึกษาที่บ้าน นายเรมอนด์ มัวร์ (Raymond Moore) โดยพูดถึงว่า การเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นมันเป็นเรื่องโหดร้ายสำหรับเด็กเล็กๆ เด็กควรจะไปโรงเรียนเมื่อมีอายุ 8 หรือ 9 ปี เมื่อเขาอยู่ในวัยที่พร้อมที่จะเรียน และได้รับการฟูมฟักความรัก การดูแล การอบรมบ่มนิสัยจากที่บ้านอย่างเต็มที่แล้ว มัวร์ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า Home Grown Kids ในปี 1981 ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับควานิยมมากในขณะนั้น

นักการศึกษาที่ออกมาเสนอแนวคิดในช่วงแรกๆนั้นมีความต้องการที่แท้จริงในการต้องการปลดปล่อยเด็กจากระบบการศึกษาพันธนาการความเป็นอิสระของผู้เรียนที่จะมีโอกาสในการตามหาความฝัน หรือ เรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองนั้นสนใจ แต่ก็มีหลายกลุ่มที่มีแนวความคิดแบบสุดโต่งได้นำรูปแบบการเรียนการสอนที่บ้านไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาแนวความคิดของตนเอง เช่น กลุ่มนิยมศาสนาที่ต้องการให้ผู้หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน หรือกลุ่มที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่บ้านในการบ่มเพาะเยาวชนให้นับถือศาสนาหรือนิกายของตนเอง โดยเด็กที่ไปเรียนนั้นใช้เวลาส่วนมากไปกับการเรียนศาสนา แทนที่จะเป็นการเรียนการสอนที่บ้านเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริงตามแนวความคิดของโฮลท์และมัวร์

ต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศรับรองการจัดการศึกษาที่บ้านว่าเป็นเรื่องที่ถูกกฏหมายในปี 1993 และหลายๆประเทศทั่วโลกก็เริ่มจัดให้มีรูปแบบที่ถูกต้องตามกฏหมายตามๆกัน โดยประเทศไทยได้ประกาศในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ.1999)

Method of homeschooling

การจัดการเรียนการสอนที่บ้าน (บ้านเรียน) ของแต่ละบ้านและแต่ละผู้เรียนนั้นจะแตกต่างกันไป ไม่มีแนวทางที่เหมือนกันทั้งหมด ทั้งนี้แล้วนั้นขึ้นอยู่กับการเลือก การผสมผสานแต่ละแนวความคิดการจัดการศึกษาเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน และสภาพแวดล้อมที่บ้านมากที่สุด

รูปแบบแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่บ้านมีอยู่ด้วยกันหลากหลาย รูปแบบที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดได้แก่

Classical Method

Classical Method หรือ รูปแบบบ้านเรียนแบบคลาสสิก เป็นรูปแบบที่มีความเก่าแก่ สามารถย้อนไปได้ถึงในยุคกลาง (Middle Age) สมัยของอาณาจักรกรีก และโรมัน เป็นรูปแบบการเรียนที่มีสองทฤษฏีหลักคือ Great books การใช้หนังสือที่มีคุณภาพ และ Applied Trivium คือ ลำดับขั้นตอนในการเรียนการสอนสามขั้นหลักๆคือ 

  • Reason and Record การจดจำและเรียรู้ข้อมูล ในขั้นต้น
  • Research การวิเคราะห์ 
  • Relate and Rhetoric การสังเคราะห์ วิจารณ์

รูปแบบการเรียนชนิดผู้เรียนสามารถเรียรู้วิชาต่างๆได้มากเท่าที่จะมากได้ เพราะการเรียนนั้นขึ้นอยู่กับหนังสือที่เลือกอ่าน ทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ จดจำจากตำราต่างๆที่อ่าน เกิดชุดข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน สามารถปะติดปะต่อความรู้เกิดความลึกซึ้งในการเข้าใจ ซึ่งจะต่างกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และทฤษฏีบ้านเรียนอื่นๆ (Unschooling, School-at-home, Unit Studies) ที่วิชาต่างๆถูกจัดแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ข้ามไปมา หรือเน้นการเรียนการหัวข้อ

รูปแบบบ้านเรียนแบบคลาสสิกที่นิยมว่าเป็นรูปแบบบ้านเรียนที่ดีที่สุด ได้มีการทดลองและเห็นผลสัมฤทธิ์อย่างยาวนานกว่าพันปี ผู้เรียนจะมีประสบการณ์ในการอ่านหนังสือมากกว่าผู้ใหญ่หลายๆคนในชุดหนังสือที่จัดว่าเป็นหนังสือที่ทุกคนควรอ่าน และได้เรียนรู้ เข้าใจชุดความรู้ ความคิดในหนังสือที่เป็นเรื่องที่จัดว่าเป็นข้อมูลความรู้พื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ ทำให้ผู้เรียนในรูปแบบนี้มีชุดความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางมาก 

ข้อเสียของการเรียนรู้ในรูปแบบนี้นั้นก็คือ จำนวนหนังสือและเวลาจำนวนมากที่ต้องใช้ในการอ่าน หากผู้เรียนมีปัญหามชในการอ่านเขียนก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ได้ ผู้เรียนที่อ่านได้ดีก็จะใช้เวลาในการอ่านไม่มาก ในขณะที่ผู้เรียนที่มีปัญหาในการอ่านจะทำให้ใช้เวลาจำนวนมากกับหนังสือจนทำให้เหลือเวลาน้อยลงในการทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น กีฬา ศิลปะ เป็นต้น

Charlotte Mason Homeschooling

รูปแบบการเรียนแบบชาล๊อต เมสัน ถูกพัฒนาขึ้นโดยชาล๊อต เมสัน หนึ่งในผู้บุกเบิกการสอนบ้านเรียนในยุคปีศตวรรษที่ 19 ตามแนวคริสเตียน แนวคิดหลักของการเรียนการสอนรูปแบบนี้คือการจัดช่วงเวลาเรียนเพียงสั้นๆเท่านั้น แค่ 15-20 นาทีสำหรับเด็กเล็กจนถึงประถม และไม่เกิน 45 นาที สำหรับเด็กโตชั้นมัธยม โดยเวลาที่เหลือจะเป็นการทำกิจกรรมการเดินชมธรรมชาติ การจดบันทึกเกี่ยวกับธรรมชาติ การทำแฟ้มประวัติศาสตร์ โดยเน้นทักษะในการสังเกต จดจำ บรรยาย 

ในส่วนของการอ่านสำหรับรูปแบบการเรียนนี้ก็ถือเป็นบทบาทสำคัญ โดยจะเน้นการอ่านเกี่ยวกับหนังสือในหมวดคลาสสิก ประวัติคนสำคัญ และหมวดที่เกี่ยวกับชีวิต บุคคลที่น่ายกย่อง เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม

รูปแบบการเรียนแบบชาล๊อต เมสันนี้นำจุดดีของการเรียนแบบคลาสสิก ผสมผสานกับการเรียนแบบ Unit-studies and Unschooling จนเกิดรูปแบบการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการทดลองจนเห็นผลสัมฤทธิ์ มีรูปแบบโครงสร้างการจัดการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากกว่าการเรียนแบบ Unschooling และ มอนเตสเซอรี่

การรเรียนการสอนแบบ Montessori

การเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่ ถือกำเนิดขึ้นโดยครูและนักจิตวิทยาเด็กขาวอิตาลี มาเรียน มอนเตสซอรี (Maria Montessori) มาเรียใช้ชีวิตการทำงานคลุกคลีอยู่กับกลุ่มผู้เรียนที่มีลักษณะพิเศษ ทำให้เธอได้คิดวางรูปแบบที่จะช่วยให้ผู้เรียนเหล่านี้พัฒนาทักษะของตนเองได้ รูปแบบการเรียนของมอนเตสเซอรี่นั้นเน้นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ โดยจัดการเรียนที่เอาผู้เรียนแต่ละคนเป็นจุดศูนย์กลาง และผู้เรียนสามารถเรียนไปได้ตามจังหวะการเรียนรู้ของตัวเอง มีการเรียนที่ใช้เวลาจำนวนมากในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอิสระ การใช้ก้อนบล๊อคตัวต่อขนาดใหญ่ นานได้ถึง 3 ชั่วโมง มีการคละกลุ่มอายุผู้เรียน และเลือกกิจกรรมการเรียนตามความสนใจของแต่ละผู้เรียน

Unschooling

การเรียนแบบ Unschooling เป็นแนวการจัดการเรียนการสอนโดยนำแนวความคิดหลักมาจากจอห์น โฮล์ท ผู้บุกเบิกบ้านเรียนในยุคใหม่ ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลุดจากกรอบเดิมๆในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนแบบ Unschooling เป็นการเรียนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจะจัดกิจกรรมการเรียนตามที่ผู้เรียนนั้นสนใจ ต้องการที่เรียนรู้ เรียนในลักษณะเหมือนกับที่ผู้ใหญ่นั้นทำสิ่งตังเองรักเป็นงานอดิเรก กิจกรรมจะเป็นลักษณะการทำโครงงาน การทดลอง ค้นคว้า เรียนไป ค้นพบไป ตั้งเป้าหมายไปเรื่อยๆ 

แต่หากพูดถึงการเรียนในรายวิชาพื้นฐานที่สำคัญเช่น การอ่าน การเขียน การคำนวน การเรียนอาจจะยังคงเป็นการเรียนที่ยังมีระบบ มีแบบแผน คล้ายๆกับการเรียนในโรงเรียน แต่ก็จะมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีให้น่าสนใจ และลดการทำการสอบ หรือทดสอบ 

การเรียนแบบ Unschooling เชื่อว่าการเรียนเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และปราศจากการบังคับ โดยให้ความเชื่อมั่นกับตัวผู้เรียนอย่างสูงในการบังคับทิศทางการเรียนรู้ของตัวเอง

School-at-home

การเรียนแบบ School-at-home เป็นรูปแบบการจัดการเรียนที่ต่างแบบตรงกันข้ามกับรูปแบบ Unschooling และเป็ฯหนึ่งในรูปแบบที่นิยมมากที่สุดสำหรับพ่อแม่  การจัดบ้านเรียนแบบ School-at-home แทบจะไม่แตกต่างจากรูปแบบการเรียนในโรงเรียนเลยที่จะมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ชัดเจน อาจจะมีการจัดตารางเรียนเป็นคาบ แบ่งเป็นเทอมชัดเจนเหมือนในระบบโรงเรียน บางครั้งอาจจะมาในรูปแบบการจ้างผู้สอน หรือการเรียนในระบบออนไลน์ ซึ่งรูปแบบนี้จะต่างจากเจตนารมณ์ในการจัดบ้านเรียนของรูปแบบอื่นๆ ที่ต้องการหลีกหนีจากระบบการเรียนการสอนแบบโรงเรียน รูปแบบการเรียนการสอน Unschooling นี้อาจจะใช้ค่าใช้จ่ายสูงเทียบกับระบบอื่น เพราะต้องพึ่งพาระบบจากภายนอก การจ้างผู้สอน หรือแม้กระทั่งสื่อการเรียนการสอนต่างๆ

Unit Studies

Unit Studies เป็นรูปแบบที่จัดการเรียนเป็นหัวข้อที่เชื่อมโยงกัน โดยที่ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเชื่อมโยงวิชาต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เรียน ตัวอย่างเช่น หัวข้ออยุธยาในเรื่องภูมิศาสตร์ อ่านหนังสือเรื่อง “ศึกบางระจัน” ในวิชาการอ่าน การทำผ้าย้อมพิมพ์ลายแบบไทยในสมัยอยุธยาในวิชาศิลปะ การงานอาชีพ เป็นต้น รูปแบบการเรียนในลักษณะนี้ รายวิชาต่างๆสามารถเลือกที่จะเรียนไปพร้อมๆกันทีเดียว หรือสามารถแยกออกเป็นรายวิชาก็ได้ รูปแบบการเรียนร Unit Studies สามารถพบได้เช่นกันรูปแบบการเรียนแบบชาล๊อต เมสัน, Unschooling  หรือ Classic Schooling

Eclectic Education

รูปแบบ Eclectic Education หรือการผสมผสานหลายๆรูปแบบการเรียนรู้เข้าด้วยกัน เป็นรูปแบบที่พ่อแม่นิยมมากที่สุด เหตุผลด้วยว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ไม่มีข้อจำกัด จำเพาะแบบใดแบบหนึ่งที่พ่อแม่ต้องยึดติดไปตลอด เป็นการจัดบ้านเรียนที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุด พ่อแม่อาจจะตัดสินใจใช้รูปแบบชาล๊อต เมสันสองสามวัน แล้วเปลี่ยนเป็นมอนเตสเซอรี่ แล้วเปลี่ยนเป็นอื่นๆโดยไม่จำกัด หรืออาจจะใช้การเรียนแบบ Unschooling ในเรื่องคณิตศาสตร์ แล้วใช้ Classical ในวิชาประวัติศาสตร์ก็ได้

ในรูปแบบนี้พ่อแม่แต่ละบ้านมักจะใช้วิธีการสังเกตจากบ้านอื่นๆ แล้วนำมาปรับใช้กับตัวเอง ดูเลือกที่สิ่งที่เหมาะสมกับลูกของตัวเองโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด ข้อดีของการใช้รูปแบบนี้ก็คือ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนาในสิ่งที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับตัวผู้เรียนรในแต่ละด้าน ผู้สอนจะต้องมีทักษะในการสังเกต และความสามารถในการตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน

Best practise

ตั้งแต่ประเทศไทยได้ประกาศรับรองการเรียนแบบบ้านเรียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 มีเด็กไทยหลายๆรุ่นที่ผ่านการเรียนในระดับนี้มา มีประสบความสำเร็จในการค้นพบตัวเอง มีประสบการณ์หลากหลาย ลึกซึ้ง มีความคิดความอ่านที่อยู่ในระดับที่น่าชื่นชม ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างการแชร์ประสบการณ์ของผู้เรียน หรือผู้สอนที่น่าสนใจ

“ฉันโตมากับการไม่ไปโรงเรียน”

โฮมสคูล บ้านเรียน การศึกษาวิชาใช้ชีวิตให้มีความสุข

โฮมสคูลนั้นเอื้อมถึงได้

อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจ