เราเคยได้ยิน วันอาสาฬหบูชา ประเพณีอันดีงาม มาตั้งแต่เกิดจนโต เป็นที่ทราบกันดีว่า คือหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนาของชาวไทยทุกคน วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
เชื่อว่า หลายคนอาจจะเข้าใจความหมายของวันอาสาฬหบูชาเพียงแค่ผิวเผินเท่านั้น แต่ยังไม่เข้าใจความหมายอย่างลึกซึ้ง วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
การออกเสียง
คำว่า “อาสาฬหบูชา” จริงๆ แล้วสามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา
อาสาฬห หมายถึง เดือน 8 ส่วนคำว่า บูชา แปลตรงตัว หมายถึง การบูชา นั่นเอง เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในเดือน 8
ประวัติความเป็นมา
ย้อนกลับไปสมัยพระพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ หลังจากที่ท่านทรงตรัสรู้ได้เพียง 2 เดือน จึงเรียกเหล่า ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ มารับฟังการแสดงปฐมเทศนา ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ โดยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” หรือแปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม
ใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
- มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
คือ การละเว้นความสุขทางกาย โดยใช้หลัก มรรคมีองค์ 8 ดังนี้
- สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
- สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
- สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
- สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
- สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
- สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
- สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
- สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
- อริยสัจ 4
ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
- ทุกข์ เกิดจาการไปยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์
- นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ ด้วยการใช้สติใช้ปัญญา
- มรรค ก็คือ มรรคมีคองค์ 8 ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชา คือ วันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก ได้แก่ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” วันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เกิดขึ้น
กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
คนไทยโดยส่วนใหญ่นิยม เข้าวัดทำบุญตักบาตร และเวียนเทียนในตอนค่ำ เพราะเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ช้านาน เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และทำให้จิตใจบริสุทธิ์
ภาพจาก https://www.pexels.com/@pixabay
Be the first to comment