เคยสงสัยไหมว่า การเข้าพรรษาคืออะไร และทำไมต้องเข้าพรรษา วันนี้เราจะพาทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน
ประเพณีเข้าพรรษา เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยเกิดขึ้นในช่วงของการทำนา เมื่อพระสงฆ์ออกเดินบิณฑบาต จึงไปเหยียบโดนเมล็ดพันธุ์ข้าว และเหยียบแมลงตายโดยไม่ได้เจตนา พอชาวบ้านและชาวนารู้จึงโกรธมาก พากันไปกราบทูลพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระองค์จึงทรงบัญญัติให้มีการจำพรรษาในช่วงหน้าฝนเพราะเป็นฤดูของการทำนา ด้วยระยะเวลา 3 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา โดยในช่วง 3 เดือนนี้ พระภิกษุสงฆ์จะอยู่อาวาส หรือจำพรรษาพักอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอด 3 เดือน ห้ามมิให้เดินทางไปในที่ต่างๆ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ประเพณีเข้าพรรษาจึงเกิดขึ้น และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
วันเข้าพรรษา มีความสำคัญอย่างไร
- กำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ในช่วงวันเข้าพรรษา เพราะเป็นช่วงที่ชาวบ้านทำไร่ทำนา ช่วยให้ต้นกล้า ตลอดจนสัตว์เล็กสัตว์น้อยทั้งหลายไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
- หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 – 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาจะเป็นช่วงที่ให้พระสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
- วันเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามหลักคำสั่งสอนของพุทธศาสนา ตลอดจนศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัยทั้งหลายด้วย เพื่อมาถ่ายทอด และเทศนาแก่ประชาชนต่อไป
- เป็นโกอาสดีสำหรับผู้ที่ต้องการบวชเป็นสามเณร หรือพระภิกษุสงฆ์ อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาต่อไป
- เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ประชาชนทั้งหลาย ได้มีโอกาสสร้างบุญบารมี และบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน งดเว้นอบายมุข อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะขัดจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาตลอดช่วงเวลาเข้าพรรษาอีกด้วย
โดยวันเข้าพรรษานั้นเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) และมีกิจกรรมวันเข้าพรรษา ดังต่อไปนี้
- ประชาชนทั่วไปร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา และถวายเทียนพรรษา
- ทำกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัยแก่ภิกษุและสามเณร
- ร่วมกันทำบุญตักบาตร สร้างบุญกุศล ฟังธรรมเทศนา และรักษาอุโบสถศีล
- งดเว้นอบายมุขต่างๆ เช่น การดื่มสุรา ยาเสพติด เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ก็คือ สาระหน้ารู้เกี่ยวกับ วันเข้าพรรษา ที่คุณควรรู้ เพราะเป็นวันสำคัญและประเพณีอันดีงามของชาวไทยทุกคน ในขณะเดียวกัน เราคนไทยทุกคนอย่าลืมที่จะสืบทอดประเพณีเหล่านี้ เพื่อส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานของเราด้วย เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานของเราได้เรียนรู้ และได้สัมผัสกับความเป็นไทย สิ่งดีงามเหล่านี้จะได้ไม่หายไปจากความเป็นไทย และคงอยู่ในหัวใจของเราทุกคน ตลอดกาล…
ขอบคุณภาพจาก https://www.pexels.com/photo/bhikkhu-book-boy-buddhism-220578/
เรื่องน่ารู้อื่นๆ
- สอนลูกให้ลายมือสวย การฝึกกล้ามเนื้อมือ และจับดินสอให้ถูกต้อง
- 4 เทคนิคดีๆ ช่วยทำให้เด็กรักการอ่านมากขึ้น
- 5 เทคนิคดีๆ สำหรับคุณครู สอนอย่างไร ไม่ให้เด็กเบื่อ
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- 5 ช่องยูทูป Youtube ใหม่ๆ สำหรับเด็กเล็ก เรียนภาษาอังกฤษ
- รวมแบบฝึกหัดอนุบาล ฟรี รวมลีลามือต่างๆ 10 แบบฟรี ชุดที่ 2
- รวมแบบฝึกหัดอนุบาล ฟรี คัดไทย ก-ฮ รวมคัดลายมือ 5 แบบชุด 1
- รวมแบบฝึกหัดอนุบาล ฟรี รวมลีลามือต่างๆ 10 แบบฟรี ชุดที่ 1
Be the first to comment