ทำไมบางประเทศถึงเวลาไม่เท่ากัน อย่างเช่นไทยเรากับพม่า? ทำไมเวลาของเราจึงเร็วกว่า?
เนื่องจากโลกของเรานี้มีลักษณะเป็นทรงกลม (มีแกนกลางเอียงเล็กน้อย) หมุนรอบตัวเอง และโคจรเป็นเส้นทางคล้ายทรงรีรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ส่งผลต่อพื้นที่ต่างๆของโลกได้รับปริมาณแสงแดดแตกต่างๆกันไป เมื่อแต่ละที่ได้รับแสดงแดดไม่พร้อมกัน จึงส่งผลต่อเวลาตามนาฬิกาของพื้นที่ต่างๆในโลกด้วย (1*)
ทำไมจะต้องมี Time Zone หรือ เขตเวลา?
ก่อนหน้าที่ทั้งโลกจะยอมรับระบบเขตเวลา แต่ละประเทศ แต่ละเมือง แต่ละประเทศต่างมีเวลามาตรฐานของตัวเองที่ต่างกันตามระบบหรือนาฬิกาที่แต่ละท้องถิ่นใช้ ตอนนี้อาจเป็นเวลาบ่ายโมงเช้าตามนาฬิกาของกรุงเทพ แต่อาจจะเป็นเวลาเที่ยงตามนาฬิกาของเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น
ระบบเวลานาฬิกาตามเขตเวลา หรือ Time Zone นั้นกล่าวกันว่าเกิดขึ้นช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ประมาณในช่วงทศวรรษที่ 19 (ปี 1801-1900) ภาคธุรกิจต้องการระบบเวลาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก (1*) เพื่อให้การเจรจาติดต่อกันเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ลองนึกดูว่าถ้าแต่ละเมืองใช้ระบบเวลาของตัวเองตามแสงแดด ถ้าเราต้องเดินทางข้ามหลายๆเมืองในการเดินทางนั้น เราจะสับสนกับเวลามากแค่ไหนว่าตกลงเราอยู่ในช่วงเวลากี่โมง หรือถ้าต้องเดินทางโดยรถไฟหรือเครื่องบิน เราจะกะเกณฑ์เวลาได้ยากว่าเมื่อเราเดินทางไปถึงจุดมุ่งหมายกี่โมงกันแน่
จากปัญหานี้เองที่ทำให้หลายๆประเทศเริ่มทำการคิดค้นวิธีแก้ปัญหานี้ แต่แล้วก็มาลงเอยด้วยระบบเวลากลางของกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์) ที่ได้ตั้งระบบเวลากลาง และใช้เวลานี้เป็นมาตรฐานในประเทศ นานาประเทศได้ตกลงร่วมกันในการใช้และพัฒนาระบบเขตเวลาของกลุ่มประเทศราชอาณาจักรในปี ค.ศ.1884 ด้วยเหตุผลว่าเวลากลางกรีนิชนี้ถูกใช้โดยเรือสินค้าส่วนใหญ่ในโลกและอังกฤษก็มีเรือสินค้ามากเป็นอันดับต้นๆ และหอสังเกตุการณ์กรีนิชก็ได้พัฒนาระบบนี้มาเป็นเวลานานมากจนข้อมูลของที่นี่จึงมีคุณภาพสูง เป็นที่น่าเชื่อถือ
ระบบเวลากลางมาตรฐานของกลุ่มประเทศราชอาณาจักรคืออะไร?
ระบบเวลากลางมาตรฐานของกลุ่มราชอาณาจักร คือการนับเวลากลางโดยใช้จุดที่เส้นลองติจูดวิ่งผ่านหอสังเกตการณ์ที่เมืองกรีนิช ลอนดอน เป็นศูนย์กลางของการนับเวลา (Prime Meridean) โดยมีชื่อเรียกว่าเขตเวลากลางกรีนิช (Greenwich Meridean) และถือว่าเวลาที่กรีนิชเป็นเวลากลางอ้างอิงของทั้งโลก (Greenwich Mean Time หรือ GMT) หลักจำง่ายๆก็คือ เขตเวลากรีนิชจะนับ 0 เขตที่ถัดไปทางตะวันออก เวลาก็จะบวกเพิ่มขึ้นทีละ 1 ชั่วโมง ส่วนเขตที่ถัดไปทางตะวันตกก็จะลดลงทีละ 1 ชั่วโมง นับไปเรื่อยๆทั้งสองฝากจนครบ 24 ชั่วโมง
ตัวอย่างเช่น ถ้าเขตกรีนิชเป็นเวลา 10 โมงเช้า ประเทศไทยอยู่ในเขต +7 เวลาของไทยจึงเป็นเวลา 5 โมงเย็นในขณะเวลาเดียวกัน
ทั้งนี้ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองกรีนิช ศูนย์กลางของนาฬิกาโลก เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปรับนาฬิกาให้เร็วขึ้นหรือช้าลง จำนวน 2 ครั้ง ใน 1 ปี ซึ่งการปรับนาฬิกานี้ส่งผลต่อระบบนาฬิกาของโลกและชื่อที่เรียกเขตเวลา ในครั้งหน้าจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังกันนะคะ
อ้างอิง
1.https://www.timeanddate.com/time/time-zones.html
2.https://www.timeanddate.com/time/time-zones-history.html
3.https://www.timeanddate.com/time/zone/uk/london
ขอบคุณที่มาแบ่งปันนะคะ ชอบมากๆค่ะ เพราะอยู่ๆก็เกิดอยากรู้เรื่อง Time zone ขึ้นมาว่าใครเป็นคนทำและแต่ละที่นับเวลายังไง มาอ่านทีเคลียเลยค่ะ 🥰
ยินดีค่า ดีใจที่สามารถช่วยตอบความสงสัย มีเรื่องอะไรอยากรู้ อยากให้เราหาคำตอบ แนะนำมาได้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ